Call Center Beginlife

ComingSoon

การแบ่งกลุ่มของแพลงก์ตอน
แบ่งโดยยึดหลักโภชนาการ โดยแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
1. แพลงก์ตอนพืช (phytoplankton) ได้แก่ พืชกลุ่มที่มีสารในเซลล์ทำให้สามารถดูดซับพลังงานแสงและใช้พลังงานแสงร่วมกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการสังเคราะห์แสงและสร้างสารอินทรีย์ ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ คาร์โบไฮเดรท แพลงค์ตอนพืชมีความสำคัญต่อระบบนิเวศเพราะเป็นอาหารเบื้องต้นของห่วงโซ่อาหาร (food chain) ในแหล่งน้ำ ดังนั้นจึงจัดได้ว่าเป็นผู้ผลิต(producer)
2. แพลงก์ตอนสัตว์ (zooplankton)
ได้แก่ สัตว์เซลล์เดียว (โปรโตซัว) จนถึงสัตว์หลายเซลล์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ทั้งระยะตัวเต็มวัยและในวัยอ่อน มีทั้งหมด 16 phylum แพลงค์ตอนสัตว์จัดอยู่ในอันดับที่สองและอันดับที่สามของห่วงโซ่อาหารในแหล่งน้ำ โดยกินทั้งแพลงค์ตอนพืชและสัตว์เป็นอาหาร ดังนั้นแพลงก์ตอนสัตว์จัดว่าเป็นผู้บริโภค(consumer)

หรืออาจแบ่งแพลงค์ตอนออกตามรูปแบบการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ได้แก่
1.  แพลงค์ตอนชั่วคราว  คือสิ่งมีชีวิตที่บางช่วงระยะของชีวิต ตรงกับนิยามของแพลงค็ตอน เช่น ลูกปลา ลูกกุ้ง ที่ตัวเล็กๆๆ ยังไม่มีระยางค์ในการเคลื่อนที่และปล่อยให้ตัวเองลอยไปตามกระแสน้ำ
2.  แพลงค์ตอนถาวร คือเป็นแพลงค์ตอนตั้งแต่เกิดจนตาย
 

 

 

ประโยชน์ของแพลงก์ตอน

ประโยชน์ของแพลงก์ตอน

  1. เป็นองค์ประกอบเบื้องต้นของห่วงโซ่อาหารในแหล่งน้ำธรรมชาติ หรือที่เรียกว่าผู้ผลิต ซึ่งมีความหมายรวมไปถึงทั้งแพลงค์ตอนพืช  และแพลงค์ตอนพืช ซึ่งห่วงโซ่อาหารนั้นจะสั้นหรือยาวก็ขึ้นอยู่กับแหล่งน้ำนั้น
  2. เป็นตัวชี้ถึงระดับความสมบูรณ์ของแหล่งน้ำ โดยการวัดผลผลิตเบื้องต้น(primary productivity)และการวัดการเจริญเติบโตจำเพาะ
  3. เป็นตัวชี้กระแสน้ำในมหาสมุทร ในกรณีนี้นิยมใช้แพลงก์ตอนพืชที่มีขนาดใหญ่หรือแพลงก์ตอนสัตว์ที่จำแนกชนิดหรือกลุ่มได้ง่าย เช่น หนอนธนูบางชนิด ได้แก่ Sagitta elegans เป็นตัวชี้กระแสน้ำนอกชายฝั่ง และในชายฝั่ง
  4. ชนิดของแพลงก์ตอนใช้เป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ำธรรมชาติ ในทะเลบริเวณที่มีธาตุอาหารสมบูรณ์ เช่น บริเวณใกล้ฝั่งที่มีน้ำผุด (upwelling) ของประเทศเปรู มักจะพบไดอะตอมสกุล Thalassiosira, Chaetoceros แต่ถ้าบริเวณที่ห่างจากฝั่งของประเทศเปรู ที่มีธาตุอาหารและมีสัตว์น้ำน้อยจะพบไดอะตอมสกุล Rhizosollenia, Planktoniella เป็นต้น
  5. ชนิดและปริมาณของแพลงก์ตอนใช้ตรวจสอบมลภาวะของแหล่งน้ำได้ จะใช้ได้ดีกับภาวะที่เกิดจากสารอินทรีย์ (orginic pollution) แพลงก์ตอนพืชหลายชนิดที่ใช้เป็นดัชนีชี้วัด เช่น Euglena viridis, Nizschai palea, Oscilltoria limosa, Scenedesmus quadricauda, Oscillatoria tenuis ทั้งหมดนี้เป็นห้าชนิดแรกที่ใช้ในการตรวจสอบมลภาวะที่เกิดจากสารอินทรีย์ในน้ำ นอกจากนั้นยังใช้ค่าดัชนีความหลากหลาย (diversity index) ซึ่งคำนวณโดยใช้ข้อมูลจำนวนชนิดของแพลงค์ตอนและปริมาณของแพลงก์ตอนแต่ละชนิด ประเมินสภาวะมลพิษในแหล่งน้ำที่ต้องการศึกษา
  6. ใช้ในอุตสาหกรรม โดยอาจใช้ในรูปที่มีชีวิตโดยใช้ทั้งเซลล์หรือโดยการสกัดผลผลิตที่เซลล์ผลิตขึ้นมาหรืออาจจะใช้ในรูปของ fossil

      6.1 ใช้ในรูปของแพลงก์ตอนที่มีชีวิต นำมาใช้ประโยชน์โดย
          - เป็นอาหารสัตว์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำวัยอ่อน เช่น เป็นอาหารสำหรับลูกกุ้ง
          - เป็นอาหารมนุษย์ สาหร่ายบางชนิด เช่น Spirogyra ซึ่งเป็นอาหารหลักของประเทศแถบอินโดจีนเช่น พม่า อินเดีย โดย ชนิด Oedogonium ใช้ปรุงเป็นอาหารในประเทศอินเดีย ส่วนชนิด Chlorella,Spirulina (สาหร่ายเกลียวทอง) ใช้เป็นอาหารเสริมที่มีโปรตีนสูง
          - ใช้เป็นยารัักษาโรค ชนิด Spirulina   ใช้เป็นสารประกอบในยารักษาความดันโลหิตสูง โลหิตจาง โรคภูมิแพ้ มะเร็งในช่องปาก  เป็นต้น
      6.2 ใช้ในรูปของซาก fossil
         - ไดอะตอมไมท์ (diatomite) หรือ ไดอะโตมาเซียสเอิธ เป็นซากที่เหลือจากผนังเซลล์ของไดอะตอมเกิดการทับถมมาเป็นเวลานานนับล้านปี ถูกนำมาใช้ในการทำผลิตภัณฑ์เครื่องกรองน้ำยาต่าง ๆ ฉนวนกันความร้อนในอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น หม้อต้มน้ำ และเตาเผาที่ใช้ความร้อนสูง
        - หินปูน (carbonate rock) ประกอบด้วยแคลไซท์ ซึ่งเกิดจากส่วนของเซลล์ที่ตายแล้วของแพลงก์ตอนพืชหลายกลุ่ม
        - ด้านอุตสาหกรรมน้ำมัน สามารถสร้างเคโรเจนซึ่งเป็นสารประกอบเคมีประเภทไฮโดรคาร์บอนและจะเปลี่ยนสภาพน้ำมันปิโตรเลียมโดยขบวนการทางธรรมชาติ

 

​7. ใช้ในการศึกษาทดลองทางวิทยาศาสตร์

แพลงค์ตอนบางกลุ่มเช่น ไดโนแฟลกเจลเลต เมื่อมีการบลูม (การแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น) ในทะเลแถบชายฝั่งทำให้เกิดปรากฏกราณ์ที่เรียกว่า น้ำแดง หรือ    red tide    ซึ่งน้ำทะเลจะเปลี่ยนเป็นสีเขียว สีแดง สีน้ำตาลแดง ปรากฎการณ์นี้มีผลโดยตรงและโดยอ้อมต่อสัตว์น้ำเป็นอย่างมาก 

นอกจากนั้นยังส่งผลต่อเนื่องไปถึงอุตสาหกรรมอาหารทะเล และส่งผลถึงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ไดโนแฟลกเจลเลตหลายชนิดสามารถสร้างสารพิษ ได้เมื่อสัตว์น้ำ โดยเฉพาะหอย พิษจะสะสมอยู่ในหอยโดยไม่ทำอันตรายแก่หอยแต่จะส่งผลต่อผู้บริโภค อาจมีผลรุนแรงถึงแก่ชีวิต ส่วนผลทางอ้อมคือเมื่อเกิดการบลูมของแพลงก์ตอนจำนวนมาก สัตว์น้ำชนิดอื่นไม่สามารถอาศัยอยู่ได้เนื่องจากขาดออกซิเจนสำหรับหายใจ ในประเทศไทยก็มีการเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ในฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย ซึ่งสร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก การที่มีการปล่อยน้ำเสียลงในทะเลจากนากุ้งหรือจากอุตสาหกรรมอื่น ๆ จะทำให้สารอาหารในน้ำทะเลเพิ่มมากขึ้นซึ่งเหมาะสมต่อการขยายพันธ์ของแพลงก์ตอนที่เป็นพิษเหล่านี้มาก นอกจากนั้นการชะล้างหน้าดินทีเกิดขึ้นน้ำจะพัดพาสารอาหารลงสู่ทะเลเป็นจำนวนมาก ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งเช่นกัน เราสามารถที่จะป้องกันไม่ให้ปรากฏการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นได้ โดยต้องช่วยกันรักษาระบบนิเวศทั้งบนบกและในทะเลเพราะแต่ละระบบนิเวศล้วนแต่มีความสัมพันธ์กันทั้งนั้นเมื่อระบบนิเวศหนึ่งเสื่อมโทรมลงก็จะส่งผลต่ออีกระบบหนึ่งเป็นลูกโซ่ต่อ ๆกันไป สุดท้ายก็คือระบบนิเวศมนุษย์นี้เองที่จะได้รับผลที่เกิดขึ้น

 

ปัจจุบันมีการนำแพลงตอนมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ซึ่งแน่นอนว่ามันมีประโยชน์ต่อผู้ใช้อย่างมากมาย ซึ่งบริษัทบีกิไลฟ์ก็ได้นำแพลงตอนมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ด้านความงามเช่นกัน เช่น สบู่แพลงตอน มาร์คแพลงตอน  เป็นต้น....

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

บีกินไลฟ์ ผลิตและจำหน่ายเครื่องสำอาง เครื่องสำอางพรีเมียม ไร้สารที่เป็นอัตรายต่อร่างกาย